แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2559

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์ความรู้และระบบฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นมาตรฐานสากล

4.2 แผนปฏิบัติการสงวนรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
ตัวชี้วัด

1 จำนวนฐานข้อมูลและทะเบียนแห่งชาติเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือความรู้พื้นบ้านที่สนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน


แนวทางปฏิบัติ แผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงาน
4.2.1.1 จัดทำข้อมูล/ทะเบียนแห่งชาติของภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือความรู้พื้นบ้านที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ 1. รวบรวมข้อมูลพืชที่ใช้ประโยชน์ในวัฒนธรรมประเพณีเพื่อกำหนดแนวทางดำเนินงานสำหรับพืชที่มีการใช้ประโยชน์มากและพืชที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้วและมีแนวโน้มสูญพันธุ์จากการไม่ได้ใช้ประโยชน์ 1. ร่วมกับศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการจัดทำระบบจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลเอกสาร วิชาการด้านพฤกษศาสตร์และอื่นๆ ในห้องสมุดกลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืชให้ สามารถสืบค้นออนไลน์และเชื่อมโยงกับห้องสมุดของกรมวิชาการเกษตรได้
2. โครงการศึกษาสารเคมีในพืชสมุนไพรกลิ่นหอม
3. โครงการศึกษาศักยภาพของพืชอาหารพื้นเมืองเพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ 1. โครงการเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา ประชามีสุข (อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์) โดยการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ในพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ เฝ้าระวังการทำประมงฝนฤดูวางไข่ในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ การจัดอบรมเพื่อ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับชุมชนในการดูแลรักษา ที่อยู่อาศัย และการแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำ โดยมีชุมชนเข้าร่วม ๓๒ ชุมชน
4. โครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวชองในภาคตะวันออกของประเทศไทย 1. ฝึกอบรมการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวป่าในสภาพธรรมชาติ โดยร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมมีความ ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรพันธุกรรมข้าว โดยเฉพาะแหล่งพันธุกรรมข้าวป่า และความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น
5. โครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน 1. การประชุมสัมมนาวิชาการ “แผนงานวิจัยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมข้าว” ร้อยละ 80 มีความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรพันธุกรรมข้าวและความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น
6. ศึกษา รวบรวม และจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือความรู้พื้นบ้านที่ชุมชนใช้ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น 1. เก็บตัวอย่างพันธุ์กล้วยต่างๆ เพื่ออ้างอิงในพิพิธภัณฑ์ ร่วมกับศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และศูนย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดทำ QR Code ของกล้วย
2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ผงสีจากธรรมชาติในผลิตภัณฑ์ขนมไทย โดยร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้
4.2.1.2 สนับสนุนการจัดทำข้อมูลและประยุกต์ใช้กลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น การประดิษฐ์คิดค้นใหม่และวิถีปฏิบัติของชุมชนท้องถิ่นสำหรับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 1. วิเคราะห์และจำแนกภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้พื้นบ้าน การประดิษฐ์คิดค้นใหม่ และวิถีปฏิบัติของชุมชนท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน พร้อมจัดทำมาตรการเชิงนโยบาย การบริหารจัดการ แนวทางปฏิบัติและคู่มือการดำเนินงานเพื่อเป็นกรณีตัวอย่างที่สามารถถ่ายทอดไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับชุมชน ประเทศ และระหว่างประเทศ 1. จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศความหลากหลายทางชีวภาพของกรมประมง
2. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนระหว่างชุมชน และประเทศเพื่อให้เกิดผลสำเร็จในทางปฏิบัติ 1. จัดอบรมนักวิชาการด้านการอนุรักษ์พืชของธนาคารเชื้อพันธุ์พืชจาก 14 ประเทศ ได้แก่ บังคลา เทศ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มองโกเลีย เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา เวียดนาม ไทย พม่า ภูฎาน เคอร์กีซ และเกาหลีใต้ โดยให้ตระหนักถึงคุณค่าของการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืช
4.2.1.3 ส่งเสริมการดำรงรักษาระบบนิเวศที่ชุมชนที่ใช้ความรู้ที่สืบทอดตามธรรมเนียมประเพณี จัดการและดูแลมาเป็นเวลานานอย่างยั่งยืน 1. สำรวจจัดทำ Inventory ระบบนิเวศที่คล้ายคลึงกับซาโตยามา (Satoyama) และศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนที่เกี่ยวข้อง
2. จัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการเพื่อดูแลคุ้มครองระบบนิเวศที่คล้ายคลึงกับซาโตยามา 1. เตรียมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพมีอายุครบ 100 ปี ใน พ.ศ.2564
4.2.1.4 ส่งเสริมและรักษาการใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือความรู้พื้นบ้านที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. ดำรงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือความรู้พื้นบ้านที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน - โครงการสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรในพื้นที่เขตอนุรักษ์ - โครงการสนับสนุนการสำรวจและศึกษาสมุนไพรในพื้นที่ถิ่นกำเนิด - โครงการความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์ คุ้มครอง ส่งเสริมและใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม 1. โครงการต้นแบบแหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์โรงเรียนในตำบลท่าสาป ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วม 41 คน ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น
2. กิจกรรมการเผยแพร่ สร้างจิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ
3. การขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและบริหารจัดการผลประโยชน์ ปี 2559